วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

นิราศนรินทร์คำโคลง

    นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตน โกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรใน กรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย
   เนื้อหาของ นิราศนรินทร์ก็ดำเนินตามแบบฉบับนิราศทั่วไป คือ มีการเดินทางและคร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก โดยได้รับอิทธิพลอย่าสูงจากกำสรวลศรีปราชญ์
(ซึ่ง ในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี) แต่นิราศนรินทร์มีจุดเด่นที่การใช้คำที่ไพเราะ รื่นหูข้อความกระชับลึกซึ้งและกินใจ จะถือว่าเป็นนิราศคำโคลงที่ไพเราะที่สุดก็ย่อมได้
    โคลงบทที่ 2 กรุงศรีอยุธยาล่มสลายไปจากการเสียกรุง แต่ก็มีเมืองล่องลอยมาจากสวรรค์อันมีพระที่นั่งสถูปแก้วอันสวย งามด้วยบุญบารมีที่สั่งสมของพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญ รุ่งเรือง เปิดทางให้บ้านเมืองไปสู่ความดีงามและยังฟื้นเมืองให้ตื่นจากการหลับใหล หลังจากการเสียกรุง
    โคลง บทที่ 3 ความรุ่งเรืองของศาสนานั้นมีมากไปทั่วยิ่งกว่าแสงอาทิตย์ ผู้คนได้รับพระธรรมจากการฟังธรรมอยู่เป็น ประจำเจดีย์มากมายได้ถูกสร้างขึ้นสูงตระหง่านฟ้ายอดเจดีย์สวยงามยิ่งกว่าแสง นพเก้าเสมือนเป็นหลักแห่งโลกและเป็นที่มหัศจรรย์แห่งสรวงสวรรค์
    โคลงบทที่ 4 โบสถ์วิหารระเบียงธรรมาสน์และศาลาต่างๆนั้นกว้างใหญ่ขยายไปถึงสวรรค์หอพระ ไตรปิฎกเสียงระฆังในหอระฆังยามพลและแสงตะเกียงจากโคมแก้วอันมากมายนั้น สามารถทำให้แสงจันทร์สว่างน้อยลง
     โคลงบทที่ 8 เมื่อจำต้องจากนางอันเป็นที่รักไปด้วยความอาลัยเหมือนกับต้องปลิดหัวใจของตน ออกไปกับนางถ้าหากว่าดวงใจสามารถแบ่งออกได้ก็จะผ่าออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งจะเก็บไว้กับตนเอง แต่อีกซีกหนึ่งจะมองให้นางรักษาไว้
    โคลงบทที่ 10 จะฝากนางไว้กับฟากฟ้าหรือผืนดินดีเพราะกลัวว่าพระเจ้าแผ่นดินจะมาลอบเชยชม นางจะฝากนางไว้กับสายลมช่วยพัดพานางบินหนีไปบนฟ้าแต่ก็กลัวลมพัดทำให้ผิวนาง มีรอยช้ำ
    โคลงบทที่ 11 จะฝากนางไว้กับใครดีจะฝากนางไว้กับนางอุมาหรือชายาพระนารายณ์ก็เกรงว่าจะ เข้าใกล้ชิดนางพี่คิดจนสามโลกจะล่วงลับไปก็คิดได้ว่าจะฝากนางไว้ในใจตนเองดี กว่าฝากไว้กับคนอื่น
    โคลงบทที่ 22 เดินทางมาโดยทางน้ำล่วงหน้ามาจนถึงตำบลบางยี่เรือขอให้เรือแผงช่วยพานางมา ด้วย แต่บางยี่เรือไม่รับคำขอน้ำตาพี่จึงไหลนอง
    โคลงบทที่ 37 เดินทางต่อไปจนถึงตำบลบางพ่อซึ่งน้ำแห้งเหือดจนมองไม่เห็นมีแต่บ่อน้ำตาที่ คงเต็มไปด้วยเลือดพี่ก็อยากให้นางผู้มีความงาม5ประการมาซับน้ำตาพี่แล้วค่อย จากไป
    โคลงบทที่ 41 เห็นต้นจากแตกกิ่งก้านสลับกับต้นระกำทำให้ชอกช้ำระกำใจว่าเคยเป็นเวรกรรมที่ คงเคยทำกันมาทำให้เราต้องจากกัน ไกลขอให้ครั้งหน้าเราคงได้อยู่ด้วยกัน
    โคลงบทที่ 45 เป็นการเปรียบเทียบของหน้านางกับดวงจันทร์ แต่ดวงจันทร์มีรอยตำหนิเป็นรอยกระต่าย แต่ใบหน้าของน้องนางสวยงามไม่มีตำหนิไม่มีสิ่งใดมาเปรียบเทียบ เพราะหน้าของน้องงามกว่าดวงจันทร์ ยิ่งมองยิ่งงามกว่านางฟ้า
    โคลงบทที่ 118 เดินทางมาถึงตระนาวศรีความโศกเศร้าก็กระหน่ำซ้ำเติมเข้ามาความโศกเศร้าที่ จากนางาไม่ว่าจะเดินผ่านทุ่งนา ป่า ท้องน้ำ หรือสถานที่ใดไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ ก็สามารถสังความไปถึงน้ำได้ตลอด
    โคลงบทที่ 122 ไม่ว่าจะเป็นพระอินทร์ผู้มีพันตาผู้เฝ้าดูระวังโลกพระพรหมผู้มีสี่หน้าแปดหู ที่คอยฟังสรรพเสียงใดๆหรือจะเป็นพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่หลังนาค เมื่อเราทั้งสองต้องพลัดพรากจากกัน เราสองคร่ำครวญอยู่ซ้ำซากแต่เทพพระองค์ก็ไม่สนใจ
    บทที่ 139 ในอกของพี่นั้นมันเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อยากจะระบายยออกมาบรรยายให้น้อง ได้ทราบความรู้สึกของพี่นั้นมากมาย ดังนั้น พี่จึงเอาเขาพระสุเมรุมาเป็นปากกา  เอามหาสมุทรเป็นน้ำหมึก แล้วเขียนเป็นตัวหนังสือไนอากาศเป็นแผ่นกระดาษ จารึกลงไปก็ยังไม่พอเพราะความรู้สึกของพี่นั้นมีมาก ผู้เลอโฉมลงมาจากฟ้าจะรับรุ้ความรู้สึกในใจของพี่หรือไม่
    บทที่ 140 ภูเขาพังทลาย สวรรค์ 6 ชั้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จะหายไปจากโลก ความรักของพี่นั้นก็ไม่หาย ถึงไฟมาผลาญล้างทวีปทั้ง4 ก้ไม่สามารถล้างความอาลัยของพี่ได้
    บทที่ 141 พี่ได้คร่ำครวญถึงความรักของพี่จนสั่นกึกก้องทั้งแผ่นดิน และท้องฟ้า เป็นข้อความที่บรรยายถึงความโศกเศร้าของพี่ ข้อความเหล่านั้นขอให้น้องรับไว้เป็นต่างหน้า  ให้นึกถึงอดีตระหว่างเรา